ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากสอบกลางภาค
แฟ้มสะสมงานการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เทอม 2/55
วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555
วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555
บันทึกครั้งที่ 7
อาจารย์ให้ส่งงานวงกลม ที่ได้สั่งไปเมื่่ออาทิตย์ที่แล้วมาส่ง มีเพื่อนบางคนทำมาผิด อาจารย์ให้กลับไปทำมาใหม่ อาจารย์บอกว่าเป็นคนมีความรับผิดชอบ อาจจะฟังไม่เข้าใจ
อาจารย์พูดถึง เรื่อง มาตราฐานต้องนึกถึงคุณภาพ ตัวชี้วัด ตัววัดผล สถานศึกษา การสอบ สินค้า ผลิตภัณฑ์ - ภาษา เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ในการสื่อสาร- คณิตศาสตร์ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ในการคำนาณและการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
- กรอบนึกถึงจำกัด ขอบเขต กฎเกณฑ์
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสําคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กรวมทั้งเป็นแนวทางในการกํากับตรวจสอบและประเมินผลมาตรฐานการเรียนรู้จัดให้อยู่ภายใต้สาระหลัก ดังนี้
สาระที่ 1 : จํานวนและการดําเนินการมาตรฐานค.ป. 1.1 : เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจํานวนและการใช้จํานวนในชีวิตจริง
สาระที่ 2 : การวัดมาตรฐานค.ป. 2.1 : เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ําหนัก ปริมาตรเงินและ เวลา
สาระที่ 3 : เรขาคณิตมาตรฐานค.ป. 3.1 : รู้จักใช้คําในการบอกตําแหน่งทิศทางและระยะทางมาตรฐานค.ป. 3.2 : รู้จักจําแนกรูปเรขาคณิตและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกดจากการกระทํา
สาระที่ 4 : พีชคณิตมาตรฐานค.ป. 4.1 : เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็นมาตรฐานค.ป. 5.1 : รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนําเสนอ
สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
หมายเหตุ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ได้การแก้ปัญหาการให้เหตผลุ การสื่อสารการสื่อความหมายทางคณตศาสตร์และการนําเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริิ่มสร้างสรรค์ในระดบปฐมวัยยังไม่กําหนดมาตรฐานของสาระที่ 6 แต่การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ครูควรสอดแทรกทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ดังกล่าวข้างต้น ตามความเหมาะสมกับระดับ
วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555
บันทึกครั้งที่ 6
อาจารย์ให้ไปหยิบกล่องมาคนละ 1 กล่อง ซึ่งกล้องมีสภาพไม่สมบูรณ์ให้เรานำมาประกอบเอง โดยใช้กาวติดกล่องให้เป็นรูปที่สมบูรณ์และนำกล่องที่นำพับได้ ไปรวมกับของเพื่อน อีก 1 คนหลังจากรวมกับเพื่อน 2 คนแล้ว ก็นำไปรวมกับเพื่อนกลุ่มใหญ่ 10 คน ให้ประกอบรวมกันเป็นรูปอะไรก็ได้พอทุกกลุ่ม ประกอบกล่งเสร็จแล้วทุกกลุ่ม อาจารย์ก็ให้ยกไปวางที่่โต๊ะของอาจารย์ แล้วถามว่าสิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นมาคืออะไร สามารถสอนอะไรเด็กได้บ้าง ไม่ใช่ให้ทำแบบไร้ประโยชน์ สิ่งที่สามารถสอนเด็กได้คือ เรื่องของ ขนาด การจำแนก การจัดลำดับ การเปรียบเทียบและอาจารย์ ก็ให้นำงานที่ทุกกลุ่มทำขึ้นมา ประกอบรวมกันจะเป็นนิทรรศกาล ว่าจะจัดออกมาเป็นรูปแบบไหน
วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555
วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
บันทึกครั้งที่ 4
อาจารย์ทบทวน เรื่่อง ขอบข่ายคณิตศาสตร์ สอนการเขียนอ้างอิงว่า ควรจัดรูปแบบเป็นรูปแบบอย่างไร
ยกตัวอย่าง ขอบข่าย คณิตศาสตร์ของ นิตยา ประพฤติกิจ 2541: 17-19 มีดังต่อไปนี้
1.การนับ เป็นการอยากรู้จำนวน2. ตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยว กับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม3. การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกต ลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรือ อยู่ประเภทเดียวกัน4. การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกต คุณสมบัติของ สิ่งต่างๆ ว่ามีความแตกต่าง หรือเหมือนกัน ในบาง เรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้5. การเปรียบเทียบ เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า6. การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั่นไปยาง เป็นต้น7. รูปทรงและเนื้อที่ นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูป ทรงและเนื้อที่จากการเล่นตาม ปกติแล้ว ผู้เลี้ยงดูเด็กยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้ เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความ ลึกตื้น กว้างและแคบ8. การวัด มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและ ระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนัก และรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆ ก่อน ที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและ การจัดลำดับมาก่อน9. เซต เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่าย ๆ จากสิ่งรอบ ๆ ตัว มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้าถือเป็นหนึ่งเซต หรือในห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 2 เซต คือ นักเรียน ผู้เลี้ยงดูเด็กประจำชั้น เป็นต้น10. เศษส่วน ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถม แต่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวมให้เด็กเห็นก่อน การลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับ ครึ่งหรือ ?11. การทำตามแบบหรือลวดลาย เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตาให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบ และต่อให้สมบูรณ์12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ ช่วงวัย 5 ปีขึ้นไป ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม
1. การจัดกลุ่มหรือเซต สิ่งที่ควรสอนได้แก่
1.1 การจับคู่ 1 : 1
1.2 การจับคู่สิ่งของ
1.3 การรวมกลุ่ม
1.4 กลุ่มที่เท่ากัน
1.5 ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเลข
2. จำนวน 1 - 10 การฝึกนับ 1 - 10 จำนวนคู่ จำนวนคี่
3. ระบบจำนวน (Number System) และชื่อของตัวเลข 1 = หนึ่ง 2 = สอง
4. ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่าง ๆ เช่น เซตรวม การแยกเซต ฯลฯ (Union / Operation sets)
5. สมบัติของคณิตศาสตร์จากการรวมกลุ่ม (Properties of Math)
6. ลำดับที่ ความสำคัญ และประโยคคณิตศาสตร์ ได้แก่ ประโยคคณิตศาสตร์ที่แสดงถึงจำนวน ปริมาตร คุณภาพต่าง ๆ เช่น มาก - น้อย สูง - ต่ำ
7. การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เด็กควรสามารถวิเคราะห์ปัญหาง่าย ๆ ทางคณิตศาสตร์ทั้งที่เป็นจำนวนและไม่ใช่จำนวน
8. การวัด (Measurement) ได้แก่ การวัดสิ่งที่เป็นของเหลว สิ่งของ เงินตรา อุณหภูมิ ฯลฯ รวมถึงมาตราส่วนและเครื่องมือในการวัด
9. รูปทรงเรขาคณิต ได้แก่ การเปรียบเทียบรูปร่าง ขนาด ระยะทาง เช่น รูปสิ่งของที่มีมิติต่าง ๆ จากการเล่มเกม และจากการศึกษาถึงสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัว10. สถิติและกราฟ ได้แก่ การศึกษาจากการบันทึก ทำแผนภูมิ การเปรียบเทียบต่าง ๆ
เยาวพา เดชะคุปต์ (2542 . 87 - 88) ได้ให้ความสำคัญของขอบข่ายคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย โดยนำเสนอเนื้อหาการสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่ที่ครูควรศึกษา เพื่อจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก ดังนี้
ยกตัวอย่าง ขอบข่าย คณิตศาสตร์ของ นิตยา ประพฤติกิจ 2541: 17-19 มีดังต่อไปนี้
1.การนับ เป็นการอยากรู้จำนวน2. ตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยว กับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม3. การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกต ลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรือ อยู่ประเภทเดียวกัน4. การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกต คุณสมบัติของ สิ่งต่างๆ ว่ามีความแตกต่าง หรือเหมือนกัน ในบาง เรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้5. การเปรียบเทียบ เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า6. การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั่นไปยาง เป็นต้น7. รูปทรงและเนื้อที่ นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูป ทรงและเนื้อที่จากการเล่นตาม ปกติแล้ว ผู้เลี้ยงดูเด็กยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้ เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความ ลึกตื้น กว้างและแคบ8. การวัด มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและ ระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนัก และรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆ ก่อน ที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและ การจัดลำดับมาก่อน9. เซต เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่าย ๆ จากสิ่งรอบ ๆ ตัว มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้าถือเป็นหนึ่งเซต หรือในห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 2 เซต คือ นักเรียน ผู้เลี้ยงดูเด็กประจำชั้น เป็นต้น10. เศษส่วน ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถม แต่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวมให้เด็กเห็นก่อน การลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับ ครึ่งหรือ ?11. การทำตามแบบหรือลวดลาย เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตาให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบ และต่อให้สมบูรณ์12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ ช่วงวัย 5 ปีขึ้นไป ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม
1. การจัดกลุ่มหรือเซต สิ่งที่ควรสอนได้แก่
1.1 การจับคู่ 1 : 1
1.2 การจับคู่สิ่งของ
1.3 การรวมกลุ่ม
1.4 กลุ่มที่เท่ากัน
1.5 ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเลข
2. จำนวน 1 - 10 การฝึกนับ 1 - 10 จำนวนคู่ จำนวนคี่
3. ระบบจำนวน (Number System) และชื่อของตัวเลข 1 = หนึ่ง 2 = สอง
4. ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่าง ๆ เช่น เซตรวม การแยกเซต ฯลฯ (Union / Operation sets)
5. สมบัติของคณิตศาสตร์จากการรวมกลุ่ม (Properties of Math)
6. ลำดับที่ ความสำคัญ และประโยคคณิตศาสตร์ ได้แก่ ประโยคคณิตศาสตร์ที่แสดงถึงจำนวน ปริมาตร คุณภาพต่าง ๆ เช่น มาก - น้อย สูง - ต่ำ
7. การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เด็กควรสามารถวิเคราะห์ปัญหาง่าย ๆ ทางคณิตศาสตร์ทั้งที่เป็นจำนวนและไม่ใช่จำนวน
8. การวัด (Measurement) ได้แก่ การวัดสิ่งที่เป็นของเหลว สิ่งของ เงินตรา อุณหภูมิ ฯลฯ รวมถึงมาตราส่วนและเครื่องมือในการวัด
9. รูปทรงเรขาคณิต ได้แก่ การเปรียบเทียบรูปร่าง ขนาด ระยะทาง เช่น รูปสิ่งของที่มีมิติต่าง ๆ จากการเล่มเกม และจากการศึกษาถึงสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัว10. สถิติและกราฟ ได้แก่ การศึกษาจากการบันทึก ทำแผนภูมิ การเปรียบเทียบต่าง ๆ
วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
บันทึกครั้งที่ 3
อาจาย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน แล้วมาแลกเปลี่ยนความคิดกันของสมาชิกในกลุ่ม พร้อมเขียน
ของคนใดคนหนึ่งส่งให้อาจารย์เพื่อเป็นงานกลุ่ม
ของคนใดคนหนึ่งส่งให้อาจารย์เพื่อเป็นงานกลุ่ม
ความหมายของคณิตศาสตร์
ตั้งแต่มนุษย์เราเกิดมามองดูโลกอันสวยงาม ชีวิตของเราเริ่มเกี่ยวข้องกับคณิตศาตร์โดยที่เราไม่ทันจะรู้ตัวด้วยซ้ำว่าตัวเราไปเกี่ยวข้องได้อย่างไร ตัวเลขทางคณิตศาสตร์ได้เข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้องในการดำรงชีวิตตั้งแต่แรกเกิด เรายังไม่ได้เข้าโรงเรียนบิดามารดา หรือญาติพี่น้องจะพร่ำสอนให้เรารู้จักกับตัวเลข เพื่อนำมาประกอบการใช้ชีวิตในวันก่อนเข้าเรียนบางครั้งมนุษย์จะเรียนรู้ตัวเลขจากธรรมชาติ สภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเราจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้มากขึ้นเมื่อถึงวัยเข้าเรียนมีครู อาจารย์ สอนให้อ่านออกเสียงและเขียนหนังสือได้ สอนให้เรารู้จักตัวเลข นับตัวเลข และเขียนตัวเลขได้ พร้อมทั้งสอนให้รู้จักการบวก ลบ คูณ และหารเป็น การอ่านหนังสือได้และคิดเลขเป็นมีความสำคัญต่อมนุษย์ทุกคน การอ่านหนังสือได้และคิดเลขเป็น มีความสำคัญต่อมนุษย์ทุกคน การอ่านหนังสือออกทำให้เป็นคนฉลาดและเรียนรู้ได้ดีขึ้น มีความรอบรู้เรื่องต่าง ๆ ที่เป็นเรื่องราวของคนในอดีตและเรื่องของคนในยุคปัจจุบัน การที่เราได้คิดได้รู้โดยเฉพาะการคิดเลขทำให้คนเรามีสติปัญญา รู้จัการใช้ความคิด และความเข้าใจการใช้เหตุและผล เราจะต้องอาศัยความรอบรู้และการรู้จักใช้ความคิด ควบคุ่กันไปในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอยู่ในสังคม
ขอบข่ายคณิตศาสตร์
การจัดการเรียนการสอนในระดับปฐมวัย มีเนื้อหาในเรื่อง การนับจำนวน การจำแนก รูปร่าง รูปทรง ขนาด แนวคิดเกี่ยวกับการสอนคณิตศาสตร์ หลักสูตร และการใช้หลักสูตรวิธีการสอน เทคนิคการสอน การเตรียมการสอน การสอนคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย การสอนจำนวนและตัวเลข
หลักการทางคณิตศาสตร์
วิชาคณิตศาสตร์มีความสำคัญและมีบทบาทต่อบุคคลมาก คณิตศาสตร์ช่วยฝึกให้คนมีความรอบคอบ มีเหตุผลรู้จักหาเหตุผล ความจริงการมีคุณธรรมเช่นนี้อยู่ในใจเป็นสิ่งสำคัญมากกว่าความเจริญทางด้านวิทยาการใด ๆ นอกจากนั้น เมื่อเด็กคิดและเคยชินต่อการแก้ปัญหาตามวัยไปทุกระยะแล้วเมื่อเป็นผู้ใหญ่ย่อมสามารถแก้ปัญหาชีวิตได้
วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
บันทึกครั้งที่ 2
อาจารย์แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่น แล้วให้วาดรูปอะไรก็ได้ บนกระดาษแนวนอน คนละ 1 รูปแล้ว ให้เขียนชื่อตัวเองลงไป อาจารย์ ขีดเส้น บนกระดาด เวลา 08.30 น. แล้วให้คนที่มาเรียนก่อนเวลา 08.30 น. นำรูปที่ตัวเองมาติดบนกระดาด แล้วอาจารย์อธิบายเกี่ยวกับ คณิตศาสตร์ ว่าบนกระดาด เราเห็นอะไรบ้าง ที่เป็นคณิตศาสตร์ เช่น
- รูปร่าง
- รูปทรง
- ขนาด
- การจัดหมวดหมู่
- การจำแนก
- จำนวน (การนับ)
ถ้าเราอยากรู้ว่าจำนวนเท่าไหร่ ต้องใช้การนับ ใช้เลขฮินดูอาโรบิค ในการบอกจำนวน
การสอนเด็ก ให้จดจำในตัวเองอาจมีวิธีการ โดยการใช้สัญลักษณ์ ให้เด็กได้รู้ เช่น
เลข 1 เหมือน เสาร์ธง
เลข 2 เหมือนคอห่าน
เลข 3 เหมือนตัวหนอน
เลข 4 เหมือนหลังคาบ้าน หรือ เรือใบ
เลข 5 เหมือน แอปเปิ้ลครึ่งลูก
เลข 6 เหมืือนคนชี้เท้า
จะเป็นสัญลักษณ์ที่ช่วยสอนเด็ก โดยการใช้ภาพ
วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
บันทึกครั้งที่ 1
อาจารย์เข้ามาสอน ได้พูดเรื่องเกี่ยวกับวิชาที่เรียน และข้อตกลง พูดถึงเรื่องเครื่องแต่งกาย (เสื้อกันหนาวห้ามใส่เวลาอยู่ในห้องเรียน) เรื่องการประชุม ถ้าไม่เข้าประชุมหรือร่วมกิจกรรมของคณะจะไม่ผ่านกิจกรรม และไม่ได้ออกฝึกสอน และพูดถึงเรื่องการทำ blogger
การจัดกิจกรรม ควรจัดให้ครบทั้ง 6 กิจกรรม เช่น
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
กิจกรรมบทบาทสมมุติ
กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
กิจกรรมตามมุม เป็น กิจกรรมเสรี
กิจกรรมวงกลม เป็น กิจกรรมเสริมประสบการณ์
กิจกรรมเครื่องเล่นสนาม เป็น กิจกรรมกลางแจ้ง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)