วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2556

สรุปวิจัย เรื่องที่5


ศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับปฐมวัย จาการจัดประสบการณ์การละเล่นพื้นบ้านไทย
                
                                   ปริญญานิพนธ์
                                            ของ
                            กัณย์ณพัชร   อินทจันทร์

ความมุ่งหมาย
1. เพื่อศึกษาทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ช่วงก่อนและหลัง การจัดประสบการณ์การเล่นพื้นบ้านไทย
2.เพื่อการเปรียบเทียบผลของการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กที่มี ความบกพร่องทางสติปัญญาก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเล่นพื้นบ้านไทย
สรุปผลการวิจัย
  ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้สนการเปรียบเทียบ และการสังเกตของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้ ระดับชั้นอนุบาล2 หลักการจัดประสบการณืการเล่นพื้นบ้านไทย อยู่ในระดับปานกลางและสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
  เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ระดับเรียนด้ที่รับการจัดประสบการณ์การละเล่นพื้นบ้านไทย เมื่อพิจารณาแล้วปรากฎว่าทุกคนมีคะแนนทักษะทางคณิตศาสตร์ในด้านการสังเกตและ เปรียบเทียบ หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง
ข้อเสนอแนะ
  ในารศึกษาวิจัยในครั้งนี้ เป็นการจัดประสบการณ์การเล่นพื้นบ้านไทย สำหรับการฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ ด้านการสังเกต และการเปรียบเทียบของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดัยบเรียนได้ เพื่อเป็นการพัมนาความสามารถของเด็กควรมีการจัดกิจกรรมดังนี้
   ควรมีการจัดประสบการณ์การเล่ในเด็กกลุ่มอื่นที่มีความต้องการพิเศษหรือ สำหรับเด็กที่ปัญหาทางการเรียนรู้ เพื่อส่งผลให้เกิดทักษะทางการเรียนรู้มากขึ้น 

สรุปวิจัย เรื่องที่4

ผลของการเรียนรู้จากกิจกรรมปฎิบัติจริงที่มรต่อทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

                       ปริญญานิพนธ์
                         ของ
                     วรนุช     นิลเขต

ความมุ่งหมาย
1. เพื่อษึกษาระดับการเปลี่ยนแปลงของทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมแบบปฎิบัติจริง
2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังจัดกิจกรรมแบบปฎิบัติจริง
ความสำคัญ
   ผลการศึกษาครั้งนี้เป็นแนวทางหนึ่งสำหรับครุปฐมวัยและผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัย ในการส่งเสริมพัฒนาการทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
จุดมุ่งหมาย
  ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เป็นทักษะสำคัญในการดำรงชีวิตจึงควรเตรียวพื้นฐานตั้งแต่ยังเล็กโดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งภักดิ์ศานณัฏฐ์ หอยสกุล ได้สรุปจุดมุ่งหมายในการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมให้กับเด็กและต้องคำนึงถึงพัฒนาการ ความสามารถในการแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์
อภิปรายผล
    การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบทักษะพื้นทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมปฏิบัติจริง ซึ่งพบว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการการจัดกิจกรรมปฏิบัติจริงมีทักษะทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจริงในห้องเรียน
ขัอเสนอแนะ
1. การส่งเสริมพัฒนาการทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยควรให้เด็กเรียนรู้จากกิจกรรมที่หลากหลายแต่ทำซ้ำๆ อย่างต่อเนื่องระยะเวลาจะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้และเข้าใจ
2. การจัดกิจกรรมแบบปฏิบัติจริงควรจัดสภาพแวดล้อม บรรยายกาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กและการจัดการโดยการไปทัศนศึกษานอกห้องเรียน
3. ในการจัดกิจกรรมการแบบปฏิบัติจริงเพื่อให้เด็กปฐมวัยเกิดทักษะทางคณิตศาสตร์ ครูควรสอดแทรกทักษะทางคณิตศาสตร์ให้กลมกลืน  สอดคล้องกับกิจกรรมแบบปฏิบัติจริงดดยผ่านกระทำกับสื่อ

สรุปวิจัย เรื่องที่3

ผลของการใช้คำถามทางคณิตศาสตร์ประกอบบัตรภาพกับกิจกรรมการเล่นเครื่องเล่นสนามที่มีต่อความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
                                       ปริญญานิพนธ์
                                           ของ
                                   วราภรณ์    แก้วแย้ม

ความมุ่งหมาย
1. เพื่อการเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปบมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่นเครื่องเล่นสนามโดยใช้คำถามทางคณิตศาสตร์ การเล่นเครื่องเล่นสนามโดยใช้คำถามทางคณิตศาสตร์ประกอบบัตรภาพ และการเล่นเครื่องเล่นสนามแบบปกติ ก่อนและหลังการทดลอง
2.เพื่อเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่นเครื่องเล่นสนามโดยใช้คำถามทางคณิตศาตร์ประกอบบัตรภาพ
ความสำคัญ
1. ผลการวิจัยครั้งนี้ใช้ให้ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัย ได้ตระหนักถึงการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตรในรูปแบบของการจัดกิจกรรมการเล่นเครื่องเล่นสนามโดยใช้คำถามทางคณิตศาสตร์ประกอบบัตรภาพและการเล่นเครื่องเล่นสนามแบบปกติ
สรุปผล
1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่นเครื่องเล่นสนามโดยใช้คำถามทางคณิตศาสตร์ ประกอบบัตรภาพและการเล่นเครื่องเล่นสนามปกติมีความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกัน
2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่นเครื่องเล่นสนามโดยใช้คำถามทางคณิตศาสตร์ ประกอบบัตรภาพและการเล่นเครื่องเล่นสนามปกติมีความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ.001 โดยพบว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่นเครื่องเล่นสนามมีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงกว่าเด็กปฐมวัยที่ใช้เคื่องเล่นแบบปกติ

สรุปวิจัย เรื่องที่2

  ผลการจัดประสบการณืแบบโครงการที่มีต่อความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
                              ปริญญานิพนธื
                                 ของ
                        อำพวรรณ์   เนียนคำ

ความมุ่งหมาย
 เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้รับการจัดประสบการณืแบบโครงการก่อนและหลังการทดลอง
ความสำคัญ
1. ผลจากการวิจัยในครั้งนี้เป็นแนวทางให้ครูปฐมวัยและผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการจัดประสบการณืแบบโครงการให้เห็นแนวทางบูรณาการเรียนรู้ด้านต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ให้เหมาะสมกับจุดประสงค์ของการสอนที่แสดงถึงการใช้นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อการปฎิรูปการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเด็กทั้งด้านเวลาและเป้าหมาย
2.เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญตามแนวทางการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
สรุปผลการวิจัย
    ผลการศึกษา พบว่าเด็กปฐมวัยที่มีความสามารถทางคณิตศาสตร์ต่ำ หลังจากได้รับการจัดประสบการณืแบบโครงการ มีความสามารถทางคณิตศาสตร์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ทั้งในภาพรวมและรายด้าน
ข้อเสนอแนะ
1.ควรมีการศึกาาการจัดประสบการณ์แบบโครงการเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านอื่นๆ เช่นด้านภาษา ความคิดสร้างสรรค์
2. ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบผลการจัดประสบการณ์แบบโครงการกับกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะแตกต่างกันเช่น พื้นฐานครอบครัว ความสามารถเฉพาะด้าน
3. ควรมีการศึกาาทัศนะคติของครูปฐมวัย และผู้ปกครองที่มีต่อการจัดประสบการณ์แบบโครงการ

สรุปวิจัย เรื่องที่1


   ผลการจัดกิจกรรมการเกษตรที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
                                                            ปริญญานิพนธ
                                                           ของ
                                                                             ทัศนีย์   การเร็ว

                 วิจัย ครั้งนี้   เป็นวิจัยเชิงทดลอง (Experimentar Research)เพื่อศึกษาเกี่ยวกับผลการจัดกิจกรรมการเกษตรที่มีต่อทักษะพื้นฐาน ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  ซึ่งมีลำดับขั้นของการวิจัยและผลโดยสรุปดังนี้
ความมุ่งหมายของวิจัย
  1. เพื่อการศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเกษตร
  2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์  ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเกษตรก่อนและหลังการจัดกิจกรรม
สรุปผลการวิจัย
 1. จากการศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังจากได้รับการจัด กิจกรรมการเกษตรโดยรวมและรายทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเกษตร
2. ทักาะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเกษตรโดยรวมและรายทักาะกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการ เกษตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
อภิปรายผล
    การวิจัยครั้งนี้มีจุดหมายสำคัญเพื่อการศึกษาและเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเกษตรเด็กปฐมวัยมีทัก าะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและรายทักษะสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ แสดงว่าการจัดกิจกรรมการเกษตรช่วยส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็ก ปฐมวัยโดยรวมและรายทักษะ ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก ทักษะการเปรียบเทียบ ทักษะการเรียงลำดับ และทักษะการวัด 

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 16

         วันนี้อาจารย์ให้เพื่อนออกมาสอบสอนต่อ โดยกลุ่มที่สอบสอนวันนี้  

               - กลุ่มแรกหน่วย ไข่ กับการทำอาหาร

              - กลุ่มที่สอง คือ หน่วยไข่จ๋า มีการยกตัวอย่างคือ นำไข่ของจริงมาประกอบ เช่น ไข่นกกระทา ไข่ไก่ เป็นต้น

              - กลุ่มที่สาม ที่สอบสอนในวันนี้ คือ หน่วยน้ำ

หลังจากนั้น อาจารยืพูดเรื่องสอบปลายถาค เราจะสอบนอกตาราง แต่จะใช้วันและเวลาเดียวกับในตาราง ให้มาเจอกันที่ตึกคณะก่อน เรื่องที่จะใช้สอบ ก็จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ สาระและมาตรฐานคณิตศาสตร์ในหนังสือ

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 15

           วันนี้เพืี่่อนได้สอบสอนเป็นกลุ่มแรก อาจารย์ได้อธิบายรายละเอียดของกลุ่มเพื่อนที่สอบสอน ให้เข้าใจ และแนะนำการสอนว่ามีหน่วยไหนที่ต้องแก้ไขปรัปปรุงบ้าง


       - บางหน่วยการเรียนรู้ในหัวข้อ ของเรายังไม่ตรงกัน หน่วยของประเภท มีความสอดคล้องกับ ชนิดและลักษณะ จึงทำให้หน่อย ไม่ค่อยมีความใกล้เคียงกับชื่อหน่วย ต้องไปปรับแก้

       - ในเรื่องประโยชน์และโทษ ของสัตว์ บางครั้งก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสาระหรืมาตรฐานทางคณิตศาสตร์ เราสามารถปรับโดยการใช้นิทานมาแทนในการสอน


       - โฟมที่นำมาใช้สอน เราใชไม้ไอติมในการทำสื่อตัวสัตว์ ซึ่งต้องปรับไม้ไอติม ไม่ามารถปักลงบนกระดานโฟมได้ ควรเปลี่ยนเป็นไม้เสียบลูกชิ้น                                

      - การสอนควรเริ่มจากการขยายวงกว้างๆ ในเรื่องป่า แล้วเริ่มแคบลงมาโดยการหยิบยกตัวอย่าง เช่นสัตว์ที่เรานำมา หรือสัตว์ที่เรามี                                
      - การจัดระบบความคิดของเด็ก  การบ่งสัตว์ ตามประเภท ชนิด ลักษณะ ตามถินที่อยู่อาศัย